หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


ผลการรับรองวุฒิการศึกษา จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
          อ่านรายละเอียด

หลักสูตรผ่านการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
          อ่านรายละเอียด



ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ภาษาอังกฤษ

Master of Science Program in Occupational Health and Safety


จุดเด่นของหลักสูตร
     1. เป็นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ
     2. เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีและสามารถประยุกต์องค์ความรู้เพื่อผลิตนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีในการป้องกัน ควบคุมสิ่งคุกคามอันตรายในพื้นที่การทำงาน
     3. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้พหุวิทยาการ เช่น อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สาธารณสุขศาสตร์ เพื่อให้มหาบัณฑิตมีความสามารถในการทำวิจัย ถ่ายทอดความรู้ ผลิตนวัตกรรมใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ อนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
     4. เมื่อสำเร็จการศึกษาได้ทั้งวุฒิปริญญาโท (วทม. สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) และสามารถประกอบอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ ตามกฎหมายของกระทรวงแรงงาน
     5. มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในต่างประเทศ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
     คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 22-23 และมีคุณสมบัติ ดังนี้
     1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต หรือสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย วิทยาศาสตร์ความปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อม สร้างเสริมสุขภาพ อนามัยชุมชน หรือสำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ทุกสาขาวิชา หรือสำเร็จการศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต หรือสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และสุขภาพ
     2. ผลการศึกษาระดับปริญญาตรีต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 และมีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 2 ปี
     3. กรณีที่คุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 2) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกเข้าศึกษา โดยคณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาจาก ระดับผลการศึกษา (ในกรณีที่ไม่มีประสบการณ์) หรือ ผลการฝึกภาคสนาม หรือ โครงการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพที่เคยดำเนินการ/เข้าร่วมทั้งในขณะศึกษาและหรือภายหลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี

วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
     1. ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบข้อเขียนและ/หรือการสอบสัมภาษณ์

     2. ผู้เข้าศึกษาต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS หรือ TOEIC (ผลการทดสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)
     3. เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย


จำนวนรับ   20 คน ต่อปีการศึกษา   


โครงสร้างหลักสูตร

    แผน ก แบบ ก 2(ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) 42 หน่วยกิต
ก.   วิชาแกน 9 หน่วยกิต
ข.   วิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
ค.   วิชาเลือก 6 หน่วยกิต
ง.   วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
    แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์) 42 หน่วยกิต
ก.   วิชาแกน 9 หน่วยกิต
ข.   วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
ค.   วิชาเลือก 6 หน่วยกิต
ง.   การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
     1. นักวิชาการด้านสาธารณสุข อาจารย์ นักวิจัย ที่ปรึกษาด้านอาชีวอนามัย ด้านความปลอดภัย หรือด้านสภาพแวดล้อมในการทํางาน 

     2. พนักงานตรวจความปลอดภัย / สภาพแวดล้อมในการทำงาน /การจัดการสารเคมีอันตราย 
     3. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ
     4. วิทยากรอิสระด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

ปีการศึกษา สายตรง สายอ้อม
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 47,060 62,960
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 43,300 51,250
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 3 14,450 14,450
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 49,010 49,010
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 28,400 28,400
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 182,200 206,070


วัน – เวลา ในการจัดการเรียนการสอน คือ นอกวัน – เวลาราชการ
เรียนวันวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. ถึง 17.00 น.



กำหนดการสมัครและการสอบคัดเลือก

กิจกรรม วันและเวลา
เปิดรับสมัคร จนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2566
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ 12 กรกฎาคม 2566
สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ 22 กรกฎาคม 2566
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 31 กรกฎาคม 2566
ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2566
ปฐมนิเทศนักศึกษา 5 สิงหาคม 2566
เปิดภาคการศึกษา 19 สิงหาคม 2566



ประกาศรับสมัคร
ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาโครงการปริญญาโทภาคพิเศษ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการศึกษา 1/2566 รอบที่ 3



รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ
ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ เพื่อเข้าศึกษาโครงการปริญญาโทภาคพิเศษ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการศึกษา 1/2566 รอบที่ 3

    -   เอกสารแนบหมายเลข 1 แนวทางการทำวิจัย

    -   เอกสารแนบหมายเลข 2 แนวข้อสอบการสอบเข้าศึกษา



รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
1. ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาโครงการปริญญาโทภาคพิเศษ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการศึกษา 1/2566 รอบที่ 3

 2. หนังสือแสดงความจำนงเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา




เอกสารประกอบการสมัคร
*รับสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ช่องทางเดียวเท่านั้น*
< - หมดเขตรับสมัคร - >

โปรดเตรียมไฟล์เอกสารเพื่ออัพโหลดเป็นหลักฐานประกอบการสมัคร ดังนี้
1.  รูปถ่ายสีหน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ

2.  สำเนาใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา จำนวน 1 ฉบับ
3.  สำเนาใบปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 1 ฉบับ
4.  หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
5. ใบคะแนนผลการทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS หรือ TOEIC
       หรือเอกสารแสดงการสมัครสอบภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ฉบับ
       (ไม่กำหนดคะแนนขั้นต่ำ และผลการทดสอบ ต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)
6.  สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
7.  สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
8.  สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ยศ (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
9.  หลักฐานการชำระเงินค่าสมัคร จำนวน 1 ฉบับ
      ค่าสมัครสอบ 500 บาท
      โดยโอนเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย
      ชื่อบัญชีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มธ. เลขที่บัญชี 475-0-561-98-3  


ข้อมูลติดต่อ
งานบัณฑิตศึกษา ชั้น 10 อาคารปิยชาติ คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
โทร. 062-451-9569 (ณฬฑการณ)
e-mail: grad.thai.edu@fph.tu.ac.th




Free-Hit-Counters.net