เกี่ยวกับโครงการ

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เครือข่ายภาคกลาง

        ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 เห็นชอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ (System Integrator) ครอบคลุมการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา จำนวน 60,000 ตำแหน่ง และการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ในการนี้ สป.อว. ได้กำหนดจัดการแข่งขันแฮกกะธอน (Hackathon) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนา ทักษะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการที่เปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการจ้างงานได้ระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ บนปัญหาและความต้องการในพื้นที่จริงกว่า 3,000 ตำบล เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาด้านนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับบริบทในพื้นที่ ผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในชุมชน (Community-integrated Learning) ภายใต้โจทย์ “แนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ใน 4 ด้าน ได้แก่ (1) Creative Economy (2) Technology/Health Care (3) Circular Economy และ (4) Art and Culture ตั้งเป้าหมายมีผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 320 ทีม หรือ 2,000 คน โดยมอบหมายให้สถาบันอุดมศึกษา 8 ภูมิภาคทั่วประเทศ ดำเนินการจัดแข่งขันระดับภูมิภาค เพื่อคัดเลือกสุดยอด 40 ทีม นำแนวทางแก้ปัญหา (Solution) ไปปฏิบัติในพื้นที่จริงและ เข้าแข่งขันในระดับประเทศต่อไป
        มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับมอบหมายจาก สป.อว. ในการจัดการแข่งขันระดับภูมิภาคกลาง ซึ่งดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ทั้งหมด 18 จังหวัด 753 ตำบล เพื่อคัดเลือกสุดยอด 5 ทีม เพื่อเข้าแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆในระดับประเทศต่อไป

1. เพื่อพัฒนาทักษะแก่ผู้ได้รับการจ้างงาน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ให้สามารถเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์และระดมความคิด สร้างสรรค์ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ที่มีโจทย์หรือความต้องการในพื้นที่ เป็นศูนย์กลางหรือเป้าหมาย (Problem-based Learning)
2. เพื่อพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมผ่านกิจกรรมการแข่งขันแฮกกาธอน (Hackathon) ประมาณ 40 แนวทาง/นวัตกรรม
3. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชนในพื้นที่

1. เป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 75 ทีม สมาชิกในทีมประมาณ 5-7 คน
2. พื้นที่ดำเนินการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) หรือ จำนวน 75 ตำบล จาก 753 ตำบล
3. แนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากประมาณ 40 แนวทาง

ข่าวสาร

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เครือข่ายภาคกลาง